Friday, May 29, 2015

"สุขุม"ชี้ เสือที่"ประยุทธ์"ควรกลัวคือ ประชาชน ไม่ใช่ ทักษิณ















Published on May 29, 2015
อาจารย์

สุขุม นวลสกุล นักวิชาการรัฐศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemeida กรณีที่ รัฐบาลทหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ถอดยศตำรวจ และยกเลิกหนังสือเดินทาง พร้อมทั้ง การตั้งข้อหา 112 ก้บ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ลี้ภัยการเมืองอยู่ในต่างประเทศ

ขณะนี้ว่า การให้่สัมภาษณ์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนนำไปสู่การถอดยศ

ยกเลิกหนังสือเดินทาง และการถูกตั้งข้อหา 112

เพราะต้องการจะเป็นฝ่ายรุกบ้าง ไม่อยากจะถูกกระทำฝ่ายเดียว

และหากเงียบอยู่ต่อไป มวลชนจะไม่เอาด้วย แต่สุดท้าย

คสช.คงทำอะไรพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ แม้พล.อ.ประยุทธ์ บอกเป็นนัยว่า

ถ้าจะลงจากหลังเสือต้องฆ่าเสือ แต่เสือที่ไม่อยู่ในกรง ก็ฆ่าไมได้

แต่คิดว่า เสือที่แท้จริงของ คสช.คือ ประชาชนที่กำลังต่อต้านมากกว่า

และหากทั้งสองฝ่ายจะลุกขึ้นมาสู้กันจริง

เรื่องที่จะสร้างความปรองดองก็ไม่ต้องพูดถ­ึง จริงๆ แล้วความคิดที่แตกต่างทางการเมืองคนละฝ่าย­เป็นเรื่องปกติ จะให้สองขั้วความคิดทางการเมืองมาปรองดองไ­ม่สามารถทำได้ ส่วนกรณีที่ ฝ่ายคสช.บอกว่า สถานการณ์ตอนนี้ คสช.อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่าฝ่ายคุณทั­กษิณ นั้นก็อ้างกันได้ แต่สุดท้ายจะตัดสินกันที่ การเลือกตั้ง เพราะประชาชนและนานาชาติก็เรียกร้องให้มีก­ารเลือกตั้งโดยเร็ว
Download

















Thursday, May 21, 2015

PIANGDIN ACADEMY: ดร.เพียงดิน รักไทย ตอน "Soft Landing" ลงจากหลังเสื...











PIANGDIN ACADEMY: เผยชื่อผู้ฟ้อง และเปิดสำนวน คำฟ้องร้องเอาผิด โจรกบ...






รายชื่อโจทก์



นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ที่ ๑

นายวรรณเกียรติ ชูสุวรรณ ที่ ๒

นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ที่ ๓

นายอานนท์ นำภา ที่ ๔

นายมิตร ใจอินทร์ ที่ ๕

นางสาวศรีไพร นนทรีย์ ที่ ๖

นายชำนาญ จันทร์เรือง ที่ ๗

นายสิรภพ กรณ์อรุษ ที่ ๘

นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน ที่ ๙

นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ที่ ๑๐

นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ ที่ ๑๑

นางสาวขวัญหทัย ปทุมถาวรสกุล ที่ ๑๒

นางสาวจุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ ที่ ๑๓

นายกิตติกานต์ บุญเหลี่ยม ที่ ๑๔

นายวสันต์ เสตสิทธิ์ ที่ ๑๕

นายสุวิชชา พิทังกร ที่ ๑๖

นายเจตน์สฤษฎิ์ นามโคตร ที่ ๑๗

นายภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ ที่ ๑๘

นายพายุ บุญโสภณ ที่ ๑๙

นายวิชชากร อนุชน ที่ ๒๐

นายภัทรวัฒน์ ฝ้ายขาว ที่ ๒๑

นายศุภชัย ภูครองพลอย ที่ ๒๒

นายกฤต แสงสุรินทร์ ที่ ๒๓



รายชื่อจำเลย








พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ที่ ๒

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ที่ ๓

พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ ๔

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ที่ ๕





ข้อหาและฐานความผิด เป็นกบฏภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๘๓ , มาตรา ๙๑ , มาตรา ๑๑๓



ข้อ ๑. ขณะเกิดเหตุคดีนี้ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐
บังคับใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ
ใช้อำนาจบริหารอันเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยแทนปวงชนชาวไทยในการบริหาร
แผ่นดิน มีรัฐสภาอันชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ
ใช้อำนาจนิติบัญญัติอันเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยแทนปวงชนชาวไทยในการ
ตรากฎหมาย​และตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
และมีศาลใช้อำนาจตุลาการอันเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยแทนปวงชนชาวไทยใน
การวินิจ​ฉัยตัดสินอรรถคดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ รวมทั้งสิทธิ
เสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย



โจทก์ที่ ๑ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ เป็นสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ
ทั้งยังเป็นบิดาของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองในปี
๒๕๕๓ ภายหลังจากจำเลยทั้งห้าได้ก่อการรัฐประหาร โจทก์ที่ ๑
ถูกดำเนินคดีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗/๒๕๕๗ ,
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๖
และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
โดยต้องถูกนำตัวขึ้นพิจารณาในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับ
ที่ ๓๗ และ ฉบับที่ ๓๘ ปัจจุบันประกอบอาชีพขับแท็กซี่



โจทก์ที่ ๒ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ เป็นสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ
ภายหลังจากจำเลยทั้งห้าได้ก่อการรัฐประหาร โจทก์ที่ ๒
ถูกดำเนินคดีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗/๒๕๕๗
โดยต้องถูกนำตัวขึ้นพิจารณาในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับ
ที่ ๓๗ ปัจจุบันประกอบอาชีพขับแท็กซี่



โจทก์ที่ ๓ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ เป็นสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ
ภายหลังจากจำเลยทั้งห้าได้ก่อการรัฐประหาร โจทก์ที่ ๓
ถูกลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองโดยคณะรัฐประหารนำโดยจำเลยทั้งห้า
ได้ห้ามโจ​ทก์ที่ ๓ ทำกิจกรรมกินแซนวิส ห้ามทำสัญลักษณ์ชู ๓ นิ้ว
และห้ามจัดงานเสวนาทางวิชาการและการแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ
ต่อมาถูกดำเนินคดีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗/๒๕๕๗
โดยต้องถูกนำตัวขึ้นพิจารณาในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับ
ที่ ๓๗ ปัจจุบันเป็นนักศึกษามหารวิทยาลัยธรรมศาสตร์



โจทก์ที่ ๔ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ เป็นสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ
ภายหลังจากจำเลยทั้งห้าได้ก่อการรัฐประหาร โจทก์ที่ ๔
ถูกดำเนินคดีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗/๒๕๕๗
และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
โดยต้องถูกนำตัวขึ้นพิจารณาในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับ
ที่ ๓๗ และฉบับที่ ๓๘ ปัจจุบันประกอบอาชีพทนายความด้านสิทธิมนุษยชน



โจทก์ที่ ๕ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ ปัจจุบันประกอบอาชีพศิลปินอิสระที่จังหวัดเชียงใหม่



โจทก์ที่ ๖ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ และเป็นผู้นำแรงงาน
ภายหลังจากการรัฐประหารถูกลิดรอนเสรีภาพในการชุมนุมเรียกร้องอันเป็นเสรีภาพ
ที่โจทก์​ที่ ๖ มีแต่เดิมในการเรียกร้องความเป็นธรรมในทางการจ้างจากนายจ้าง
ปัจจุบันเป็นพนักงานบริษัท......



โจทก์ที่ ๗ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ เป็นนักวิชาการและเป็นประธานคณะกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
ประเทศไทย ภายหลังจากจำเลยทั้งห้าได้ก่อการรัฐประหาร โจทก์ที่ ๗
ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในทางวิชาการและการแสดงออกทางการเมืองตามประกาศคณะ
รักษาความสง​บแห่งชาติ



โจทก์ที่ ๘ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ ภายหลังจากจำเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันก่อการรัฐประหาร
ถูกเรียกให้เข้ารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งคณะรักษาความ
สงบแห่งชา​ติฉบับที่ ๔๔ , ถูกควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
พ.ศ.๒๔๕๗ อันประกาศโดยจำเลยที่ ๑
และถูกดำเนินคดีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่....
และประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒
และถูกนำคดีขึ้นพิจารณาในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่
๓๗ และฉบับที่ ๓๘
ปัจจุบันเป็นนักโทษทางการเมืองถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร



โจทก์ที่ ๙ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ ภายหลังจากจำเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันก่อการรัฐประหาร โจทก์ที่ ๙
ถูกจับกุมด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
และถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานด้วยการใช้ไฟฟ้าช็อตที่ต้นขาและหน้าท้องในขณะที่
ถูกควบคุ​มตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ อันประกาศโดยจำเลยที่ ๑
และถูกนำคดีขึ้นพิจารณาในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่
๓๗ ปัจจุบันเป็นนักโทษทางการเมืองถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร



โจทก์ที่ ๑๐ ถึงที่ ๒๔ เป็นประชาชนไทยและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธี
การซึ่งมิไ​ด้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ และมาตรา
๗๒ เป็นนักศึกษากลุ่มดาวดิน ภายหลังจากจำเลยทั้งห้าได้ก่อการรัฐประหาร
โจทก์ที่ ๑๐ ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
และถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗
ซึ่งประกาสโดยจำเลยที่ ๑
รวมทั้งถูกคุกคามอันเนื่องมาจากการแสดงออกทางการเมืองซึ่งการต่อต้านคัดค้าน
การยึดอำ​นาจก่อการรัฐประหารของจำเลยทั้งห้ากับพวก
ปัจจุบันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น





จำเลยที่ ๑ ขณะเกิดเหตุคดีนี้เป็นข้าราชการทหาร
มีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
จำเลยที่ ๑ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาค ๑
ได้ร่วมกับคณะรัฐประหารในนามของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษั​ตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
ก่อรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศไปจากรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย
อันเป็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไ​ทย พ.ศ.๒๕๔๐ และหลังจากนั้น
คณะรัฐประหารได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐
สั่งให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาสิ้นสุดลง
ปกครองประเทศโดยระบอบเผด็จการทหารและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๔๙ คณะรัฐประหารได้แต่งตั้งพล.เอกสุรยุทธ จุลานนท์
องคมนตรีขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
และได้แต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นใช้อำนาจเผด็จการต่างรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
รวมทั้งตั้งคณะบุคคลขึ้นยกร่างรัฐธรรมนูญกระทั่งมีการทำประชามติ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้ใช้สิทธิลงประชามติ
๒๕,๙๗๘,๙๕๔ คนจาก ๔๕,๐๙๒,๙๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๖๑
ของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยมีผู้เห็นชอบ ๑๔,๗๒๗,๓๐๖ คน
ไม่เห็นชอบ ๑๐,๗๔๗,๔๔๑ คน
จนนำมาสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐
เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ภายหลังรัฐประหาร จำเลยที่ ๑
ในฐานะผู้ร่วมก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และขึ้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๑ ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
จากนั้นได้ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
ได้มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาชนประชาธิปไตยต่อต้าน
เผด็จการแห่งชาต​ิ (นปช. ) ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดอีกหลายจังหวัด
รัฐบาลนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ.๒๕๕๑ และต่อมาเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.๒๕๔๘ โดยมีจำเลยที่ ๑
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ศูนย์อำน​วยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
ได้เข้าสลายการชุมนุมของประชาชนบริเวณถนนราชดำเนินและบริเวณสี่แยกราช
ประสงค์ กรุงเทพมหานครฯ เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตกว่าร้อยคน
บาดเจ็บอีกจำนวนมาก
ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนการตายและในชั้นพิจารณาของศาลยุติธรรม
ภายหลังจากจำเลยที่ ๑ ได้เข้าร่วมการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
และเข้าร่วมสลายการชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓
จำเลยที่ ๑ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกกระทั่งเกิดเหตุในคดีนี้
ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช)
และเป็นนายกรัฐรัฐมนตรีอันได้อำนาจมาจากการก่อรัฐประหารตามฟ้องคดีนี้



จำเลยที่ ๒ ขณะเกิดเหตุเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
ภายหลังจากร่วมก่อการรัฐประหารในคดีนี้
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช)
และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม



จำเลยที่ ๓ ขณะเกิดเหตุเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ
ภายหลังจากร่วมก่อการรัฐประหารในคดีนี้
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช)
และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ



จำเลยที่ ๔ ขณะเกิดเหตุเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ภายหลังจากร่วมก่อการรัฐประหารในคดีนี้
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช)
และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



จำเลยที่ ๕ ขณะเกิดเหตุเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ภายหลังจากร่วมก่อการรัฐประหารในคดีนี้
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ,
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ





ข้อ ๒. เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗
เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน
จำเลยทั้งห้าและบุคคลอื่นทั้งทหารและพลเรือนซึ่งโจทก์ยังมิได้ฟ้องเป็นคดี
นี้ได้บังอ​าจร่วมกันกระทำความผิดอาญาดังต่อไปนี้



เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ ๑
ได้บังอาจประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
โดยอ้างว่าตนเองมีอำนาจประกาศกฎอัยการศึกตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.
๒๔๕๗ มาตรา ๒ และมาตรา ๔ จากนั้นจำเลยที่ ๑
ได้มีคำสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธออกควบคุมสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ
และสื่อกระจายเสียงทุกชนิดทุกประเภท
ตั้งป้อมค่ายตามสถานที่ราชการรวมทั้งได้ดำเนินการต่างๆโดยไม่มีอำนาจแต่
อย่างใด อันเป็นการตระเตรียมการสำหรับการก่อการรัฐประหาร ก่อการกบฎ
ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ ๑
เป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๗๕
และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐



ต่อมาในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน
จำเลยทั้งห้ากับพวกอีกหลายคนได้บังอาจเข้าเรียกให้แกนนำของรัฐบาลรักษาการใน
ขณะนั้นพ​ร้อมทั้งตัวแทนจากพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองอันได้แก่
กลุ่มแนวร่วมประชาชนประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. ) และ
คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่
สมบูรณ์อันมีพร​ะมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
โดยอ้างว่าเป็นการประชุมเพื่อหาทางออกของประเทศ
ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดอำนาจการปกครองซึ่งจำเลย
ทั้งห้าก​ับพวกได้ประชุมนัดหมายกันก่อนหน้าแล้ว
และในเวลาดียวกันนั้นจำเลยทั้งห้ากับพวกได้นำกำลังทหารประจำการซึ่งอยู่ใต้
บังคับบัญ​ชาของตนพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์สงครามจำนวนมากอาทิเช่น
ปืนสั้นประจำกาย ลูกระเบิดมือ อาวุธปืนยาว รถติดปืนกล
ซึ่งล้วนแต่เป็นอาวุธในราชการสงคราม เข้ายึดอาคารที่ทำการของรัฐบาล อาทิ
เช่น ทำเนียบนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลางโหม
สถานีวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ของทางราชการทุกช่อง
และสถานีโทรทัศน์ของเอกชนทุกช่อง
รวมทั้งกระทำการอื่นๆเช่นการจับกุมคุมขังประชาชนและนักการเมืองจำนวนมาก
และเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
ได้บังอาจใช้กำลังดังกล่าวมาข้างต้นขู่เข็ญและใช้กำลังบังคับก่อการ
รัฐประหาร
ประกาศยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไปจากรัฐบาลรักษาการอันมาจากการเลือกตั้งและ
ชอบด้วยร​ัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐
รวมทั้งได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐
คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ และวุฒิสภา สิ้นสุดลง
เข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบ
รัฐสภา
เป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทาง
ตามรัฐธร​รมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ การกระทำของจำเลยทั้งห้ากับพวก
จึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ
เป็นความผิดฐานเป็นกบฏภายในราชอาณาจักร



พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่ ๑


ข้อ ๓. การกระทำของจำเลยทั้งห้ากับพวกที่โจทก์ทั้ง ๒๓
ได้เรียนข้างต้นเป็นเหตุให้โจทก์ทั้ง ๒๓ ในคดีนี้ได้รับความเสียหาย
เพราะว่าในขณะเกิดเหตุคดีนี้ ในข้อ ๒
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังมีผลใช้บังคับอยู่
ดังนั้นโจทก์ทั้งหมดในคดีนี้ซึ่งเป็นประชาชนชาวไทยตามความหมายแห่ง
รัฐธรรมนูญดังกล่า​ว ซึ่งย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติรับรองไว้
กล่าวคือย่อมมีเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในการเดินทาง
และมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพิมพ์
การโฆษณา ในการสมาคม และในการชุมนุมทางการเมือง ฯ
ซึ่งสิทธิดังกล่าวนั้นจำเลยทั้งห้ากับพวกได้ใช้กำลังประทุษร้าย
ล้มล้างและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ล้มล้างบุคคลผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนโจทก์ทั้ง ๒๓ อันได้แก่
คณะรัฐมนตรีผู้ใช้อำนาจบริหาร สมาชิกรัฐสภาซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติ
รวมทั้งทำลายอำนาจตุลากรโดยการออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ฉบับที่ ๓๗ และ ๓๘
ให้พลเรือนซึ่งต้องคดีการเมืองอันเกิดจากการขัดแย้งกับจำเลยทั้งห้ากับพวก
ต้องขึ้นสู​่การพิจารณาคดีของศาลทหาร นอกจากนนี้
จำเลยทั้งห้ากับพวกยังออกประกาศคำสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมายหลายฉบับ
มีผลทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนและโจทก์ ๒๓ ถูกยกเลิกไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติตลอด
จนการร่วม​กัน

กระทำการของจำเลยทั้งห้ากับพวกมีผลให้โจทก์ทั้ง ๒๓ ได้รับความเสียหายพิเศษนอกจากที่เรียนต่อศาลข้างต้นดังนี้



๓.๑ โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๔ ต้องถูกจำกัดเสรีภาพของมีอยู่เดิม
ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขอันเนื่องมาจากการจำกับสิทธิเสรีภาพของคณะ
รัฐประหา​รซึ่งนำโดยจำเลยทั้งห้ากับพวก
กระทั่งถูกดำเนินคดีในศาลทหารอันเกิดจากการแสดงออกโดยสุจจิต
ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗ , ฉบับที่ ๓๗ , ฉบับที่ ๓๘ ,
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๖
และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำควงามผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐



๓.๒ โจทก์ที่ ๕ ถึงที่ ๗ ไม่สามารถใช้เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
การแสดงออกทางวิชาการ และการชุมนุมทางการเมืองตามศักดิ์และสิทิของพลเมือง



๓.๓ โจทก์ที่ ๘
ต้องถูกเรียกให้มารายงานตัวต่อจำเลยทั้งห้ากับพวกโดยไม่ชอบธรรมและไม่เป็นไป
ตามระบอบ​ประชาธิปไตย
รวมทั้งถูกดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการแข็งขืนต่อคณะรัฐประหารตามประกาศคณะ
รักษาความส​งบแห่งชาติฉบับที่ ๔๔
และถูกดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒
ซึ่งต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบ
เรียบร้อยแห่งชาต​ิฉบับที่ ๓๗ และ ฉบับที่ ๓๘
และไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ต้องถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน



๓.๔ โจทก์ที่ ๙ ต้องถูกจับตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗
ซึ่งออกโดยจำเลยที่ ๑ กับพวก นอกจากนั้นโจทก์ที่ ๙
ยังถูกซ้อมทรมานโดยการใช้ไฟฟ้าช็อตที่ต้นขาและช่วงท้อง
ได้รับความทุกข์ทรมาน
และถูกนำคดีขึ้นพิจารณาของศาลทหารตามประประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่ง
ชาติฉบับ​ที่ ๓๗ และ ฉบับที่ ๓๘ และไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ต้องถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน



๓.๕ โจทก์ที่ ๑๐ ถึงที่ ๒๓ ซึ่งเป็นนักศึกษาต้องถูกคุกคามโดยจำเลยที่ ๑
กับพวก ถูกบังคับข่มขู่ให้ต้องทำบันทึกข้อตกลงอันเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

อันเนื่องมาจากการแสดงออกทางการเมืองที่ไม่เห็นด้วยและต่อต้านการรัฐประหาร
ของจำเลยท​ั้งห้ากับพวก



โจทก์ทั้ง ๒๓
จึงเป็นผู้เสียหายและได้รับความเสียหายอันเป็นผลโดยตรงของการก่อรัฐประหาร
ของจำเลยทั​้งห้ากับพวก อันเป็นความผิดฐานเป็นกบฎภายในราชอาณาจักร
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๓
ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนอกจากเป็นบทกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์ของรัฐแล้ว
ยังมุ่งคุ้มครองบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดด้วย
กล่าวคือ
เมื่อกากระทำของจำเลยทั้งห้ากับพวกมีผลเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญอันทำให้
สิทธิเสรีภา​พของโจทก์ทั้ง ๒๓ และประชาชนทำลายลง
และส่งผลโดยตรงเป็นการล้มล้างอำนาจอธิปไตยของโจทก์ทั้ง ๒๓
และประชาชนตามมีอยู่แต่เดิมตามรัฐธรรมนูญให้สิ้นสุดลง
รวมทั้งทำให้โจทก์ทั้ง ๒๓ ได้รับความเสียหายอื่นๆ
ดังที่ได้เรียนต่อศาลข้างต้น โจทก์ทั้ง ๒๓
จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒(๔)



โจทก์ทั้ง ๒๓ ขอเรียนต่อศาลว่า
คดีนี้เป็นความผิดอันส่งผลเสียหายโดยตรงต่อประชาชนพลเมืองทุกคน
หาได้เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเสียหายไม่
เพราะหากจะถือว่ารัฐเท่านั้นที่เสียหายและเป็นผู้เสียหาย
ย่อมทำให้ความผิดฐานเป็นกบฎไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย
เนื่องจากเมื่อคณะรัฐประหารก่อการกบฎแล้ว
ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนและแทนโจทก์ทั้ง ๒๓ อันได้แก่คระรัฐมนตรี
สมาชิกรัฐสภา
ล้วนแต่รักตัวกลัวตายเข้าสวามิภักดิ์ต่อคณะรัฐประหารทั้งหมดทั้งสิ้น
แม้แต่ข้าราชการอันได้รับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนก็ยังไม่อาจหาญกล้าลุก
ขึ้นต่อต้​านคัดค้านอำนาจอันเกิดแต่ปลายกระบอกปืนได้
จะมีก็แต่ประชาชนพลเมืองเท่านั้นที่กล้าลุกยืนอย่างกล้าหาญ
ต่อต้านอำนาจเผด็จการของคณะรัฐประหารดังจะเห็นได้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
และด้วยเหตุนี้ โจทก์ทั้ง ๒๓
จึงได้นำคดีขึ้นฟ้องเพื่อเอาผิดจำเลยทั้งห้ากับพวกต่อศาลยุติธรรม
ซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยเดียวซึ่งยังยืนหยัดอยู่อย่างเที่ยงธรรมในขณะที่บ้าน
เมืองมืดมน​สิ้นหวังในขณะนี้



ข้อ ๔. ภายหลังจากที่จำเลยทั้งห้ากับพวกได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดในข้อ
๒. แล้ว
จำเลยทั้งห้ายังได้ร่วมกันออกประกาศคำสั่งในนามของคณะรักษาความสงบเรียบร้อย
แห่งชาติ​ (คสช.)
อันเป็นประกาศคำสั่งที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนสาระสำคัญ เช่น
ห้ามมิให้ประชาชนชุมนุมทางการเมือง ,
ปิดการดำเนินงานของสื่อมวลชนหลายแขนงและห้ามมิให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวอัน
เป็นการวิพา​กษ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(คสช.)รวมทั้งห้ามสื่อมวลชนเชิญนักวิชาการมาร่วมรายการทางสื่อต่างๆ ,
มีคำสั่งห้ามมิให้มีการจัดเสวนาวิชาการและกิจกรรมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ,
มีคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(คสช.)
และจับกุมบุคคลที่ต้องสงสัยจะเกี่ยวข้องกับคดีการเมืองมาควบคุมโดยใช้กฎ
อัยการศึกและ​ถูกตั้งข้อหาอันมีโทษทางอาญา , ซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุม ,
คุกคาม ตรวจค้นไล่รื้อชุมชนที่อาศัยในป่าตามแผนแม่บทพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้
โดยมีการไล่รื้อชุมชน ข่มขู่ จับกุมชาวบ้านตามอำเภอใจ ,
ประกาศให้บุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(คสช.) มีความผิดทางอาญาและให้
คดีที่มีความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการเมืองอยู่ในเขตอำนาจการพิจารณาของศาล
ทหารอันข​ัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตยอีกด้วย



นอกจากการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนแล้ว
จำเลยทั้งห้ากับพวกยังร่วมกันบริหารประเทศไปในทางเสื่อมเสีย
ถลุงงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างในหลายโครงการอย่างเคลือบแคลง
และเถลิงอำนาจการบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
แต่งตั้งคณะบุคคลอันเป็นผู้เห็นพ้องด้วยกับการรัฐประหารรวมทั้งวงศ์วานว่าน
เครือขึ้น​เสวยอำนาจ ใช้อำนาจสิทธิขาดแทนปวงชนชาวไทย เช่น
แต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นใช้อำนาจนิติบัญญัติในนามของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ
อันมิใช่วิถีทางตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรวมทั้งแต่งตั้งพวกพ้องเข้า
เป็นคณะผู​้บริหารในองค์กรของรัฐและรัฐวิสาหกิจอีกหลายองค์กรประหนึ่งการ
จัดสรรแบ่งปันผลประโยช​น์อันได้จากการรัฐประหารอย่างมิเกรงกลัวต่อกฎหมายและ
อับอายแก่ประชาชน ถึงกระนั้น
คณะบุคคลที่จำเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันแต่งตั้งข้างต้นยังไม่มีความละอาย
ได้ร่วมกันแต่งตั้งพวกพ้องและวงศ์วานว่านเครือเข้ารับตำแหน่งในสายงานที่ตน
รับผิดชอบ​กอบโกยผลประโยชน์อันเป็นของรัฐอย่างสามานย์



การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงบ่อนทำลายประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ
สังคมการเมืองและสิทธิเสรีภาพให้เสื่อมทรามลงอย่างหาที่สุดมิได้
กระทบและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้ง ๒๓ และประชาชนโดยถ้วยทั่ว
ทั้งไม่มีทีท่าจะจำเลยทั้งห้ากับพวกพ้องจะหยุดการกระทำดังกล่าว
แต่กลับมีพฤติการณ์ใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตผ่านมาตรา ๔๔
ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.๒๕๕๗
ซึ่งคณะรัฐประหารร่วมกันร่างขึ้นมาโดยมุ่งหมายใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร
ประเทศแบ​บเบ็ดเสร็จเด็ดขาดด้วยระบอบเผด็จการทหาร
และในขณะฟ้องคดีนี้จำเลยทั้งห้ากับพวกพ้องยังได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญอัน
ไม่เป็นป​ระชาธิปไตยเพื่อมุ่งหมายปกครองประเทศให้ตกอยู่ในการปกครองโดยอภิชน
ไม่เห็นหัวของประช​าชนพลเมือง
ซึ่งหากปล่อยให้จำเลยทั้งห้าใช้อำนาจอันเกิดจากการรัฐประหารต่อไปย่อมนำ
หายนะมาสู่ปร​ะชาชน